พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

หน้าสำหรับผู้แก้ไขที่ออกจากระบบ เรียนรู้เพิ่มเติม
พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2331 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2331) เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 26 ปี 255 วัน
ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมพรรษา 63 ปี 2 วัน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2331) ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3"[2]
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด
ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญ มากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น
ทรงทำนุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่าง ๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ปั้นตั้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่าง ๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่าง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่อง ๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว
สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญ ๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่”[3]
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7
ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ถวายพระราชสมัญญาว่าพระมหาเจษฎาราชเจ้า และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน[4] ต่อมา พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย[5][6], พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย[7] และในปี พ.ศ. 2558 ถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ) [8][9]
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ • กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ • กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษเทเวศร์ • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมพระยาเดชาดิศร • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมหมื่นถาวรวรยศ
สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี † •สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี • สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี † •สมเด็จพระศรีสุลาลัย •สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี † • สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา † •สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง •สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก † •สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี • กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กรมพระยาเดชาดิศร • กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร •กรมพระยาบำราบปรปักษ์ • กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ • กรมพระยาวชิรญาณวโรรส • กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช • กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ • กรมพระยาดำรงราชานุภาพ •กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ •กรมพระยาชัยนาทนเรนทร †
กรมพระเทพสุดาวดี •กรมพระศรีสุดารักษ์ • กรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (*) •กรมพระปรมานุชิตชิโนรส • กรมพระรามอิศเรศ • กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ • กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ •กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ • กรมพระจักรพรรดิพงษ์ • กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ • กรมพระสมมตอมรพันธ์ • กรมพระเทพนารีรัตน์ † • กรมพระจันทบุรีนฤนาถ • กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ •กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ • กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • กรมพระสุทธาสินีนาฏ •กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน •กรมพระชัยนาทนเรนทร • กรมพระศรีสวางควัฒน
กรมหลวงธิเบศรบดินทร์ • กรมหลวงนรินทรรณเรศ •กรมหลวงจักรเจษฎา • กรมหลวงอิศรสุนทร (*) () • กรมหลวงเทพหริรักษ์ • กรมหลวงศรีสุนทรเทพ • กรมหลวงเสนานุรักษ์ (*) • กรมหลวงพิทักษมนตรี • กรมหลวงเทพยวดี •กรมหลวงเทพพลภักดิ์ • กรมหลวงรักษ์รณเรศ X •กรมหลวงเสนีบริรักษ์ • กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย † • กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ • กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ • กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา • กรมหลวงวงศาธิราชสนิท • กรมหลวงนรินทรเทวี † •กรมหลวงวรศักดาพิศาล • กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ † • กรมหลวงพิชิตปรีชากร •กรมหลวงวรเสรฐสุดา • กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ • กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม •กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร • กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ • กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ • กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร • กรมหลวงปราจิณกิติบดี • กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช • กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ •กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ •กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ • กรมหลวงอดิศรอุดมเดช •กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ • กรมหลวงนครราชสีมา • กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ • กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (
) •กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ • กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ • กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี • กรมหลวงสงขลานครินทร์ † • กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร • กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ •กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ •กรมหลวงชินวราลงกรณ † •กรมหลวงวชิรญาณสังวร † •กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ •กรมขุนกษัตรานุชิต X • กรมขุนอิศรานุรักษ์ •กรมขุนศรีสุนทร • กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (*) • กรมขุนกัลยาสุนทร • กรมขุนสถิตย์สถาพร • กรมขุนนรานุชิต •กรมขุนธิเบศร์บวร •กรมขุนพินิตประชานาถ () • กรมขุนวรจักรธรานุภาพ • กรมขุนราชสีหวิกรม • กรมขุนรามินทรสุดา † • กรมขุนอนัคฆนารี † • กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล • กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ • กรมขุนขัตติยกัลยา † • กรมขุนเทพทวาราวดี (
) (
) • กรมขุนอรรควรราชกัลยา •กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ • กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • กรมขุนสงขลานครินทร์ •กรมขุนสุพรรณภาควดี •กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย • กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ † • กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี •กรมขุนศิริธัชสังกาศ • กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ • กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา † • กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ •กรมหมื่นศักดิพลเสพ (*) • กรมหมื่นนราเทเวศร์ • กรมหมื่นนเรศร์โยธี • กรมหมื่นเสนีเทพ •
กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ () • กรมหมื่นอินทรพิพิธ • กรมหมื่นจิตรภักดี • กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ • กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ •กรมหมื่นสุนทรธิบดี • กรมหมื่นนรินทรเทพ • กรมหมื่นศรีสุเทพ • กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ •กรมหมื่นเสพสุนทร • กรมหมื่นอมรมนตรี • กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ • กรมหมื่นสวัสดิวิชัย • กรมหมื่นไกรสรวิชิต • กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ • กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ • กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ • กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ • กรมหมื่นถาวรวรยศ •กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา • กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ • กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ • กรมหมื่นภูมินทรภักดี • กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส • กรมหมื่นมนตรีรักษา •กรมหมื่นเทวานุรักษ์ •กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร • กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ • กรมหมื่นอุดมรัตนราษี • กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย • กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (*) • กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช • กรมหมื่นอมเรศรัศมี •กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ • กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ • กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ • กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ • กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ • กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ • กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ • กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ •กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร • กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย • กรมหมื่นปราบปรปักษ์ • กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ • กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา • กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ • กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป • กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร • กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม •กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ •กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ • กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี • กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา •กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ •กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส • กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ • กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช • กรมหมื่นเทววงศวโรทัย • กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร • กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต •กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ •กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ • กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ • กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
.jpg/600px-Wat_Yannawa_-_001_Concrete_Chinese_Junk_(12130458466).jpg)